คำแนะนำการจัดทำคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10)
  • ขอดูหนังสือเดินทาง ( Passport ) จากนักท่องเที่ยวเพื่อบันทึกชื่อและเลขที่หนังสือเดินทางลงในใบกำกับภาษีให้ตรงกับข้อมูลของนักท่องเที่ยวในแบบ ภ.พ.10 ( หากใบกำกับภาษีมีข้อผิดพลาดที่ต้องแก้ไข ให้ทำการยกเลิกใบกำกับภาษีที่ผิดพลาดแล้วออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ )
  • เมื่อนักท่องเที่ยวซื้อสินค้ามีมูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 2,000 บาท ( ราคาสินค้ารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ) จากสถานประกอบการแห่งเดียวกัน ในวันเดียวกัน ให้จัดทำคำร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว ( ภ.พ.10 ) และมอบให้นักท่องเที่ยวพร้อมใบกำกับภาษี
  • กรณีการขายสินค้ามีส่วนลด ให้ระบุราคาที่หักส่วนลดแล้ว และเป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • หากเนื้อที่สำหรับกรอกรายการสินค้าในแบบ ภ.พ.10 มีไม่เพียงพอ ให้ใช้ใบต่อ ภ.พ.10
  • เลขที่ใบกำกับภาษีที่ระบุในแบบ ภ.พ.10 ต้องตรงกับเลขที่ของใบกำกับภาษีที่จัดทำขึ้น
  • เลขที่ใบกำกับภาษีที่ระบุในแบบ ภ.พ.10 ต้องตรงกับเลขที่ของใบกำกับภาษีที่จัดทำขึ้น
  • ระบุรายการสินค้าให้ชัดเจนว่าเป็นสินค้าประเภทใด โดยไม่ลงรายการเป็นรหัสสินค้า
  • ไม่นำรายการสินค้าดังต่อไปนี้มาจัดทำหรือระบุในแบบ ภ.พ.10
    1. สินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น อาหารสด ฯลฯ
    2. สินค้าที่ต้องห้ามนำออกนอกราชอาณาจักร ( อาวุธปืน วัตถุระเบิดหรือสินค้าที่มีลักษณะเดียวกัน อัญมณีที่ยังไม่ได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือรูปพรรณ )
  • กรณีนักท่องเที่ยวซื้อสินค้าประเภท อัญมณีที่ประกอบเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา หรือปากกา ให้ประทับตราข้อความสีแดง ( ตามตัวอย่างด้านล่าง ) เพื่อให้นักท่องเที่ยวทราบว่าต้องนำสินค้าดังกล่าวที่มีราคาชิ้นละ 10,000 บาท ติดตัวไปแสดงต่อ เจ้าหน้าที่สรรพากรประจำท่าอากาศยานระหว่างประเทศ ในการขอคืนภาษีด้วย


  • ลงลายมือชื่อผู้จัดทำคำร้องในแบบ ภ.พ.10
  • ลงวันที่การจัดทำคำร้องในแบบ ภ.พ.10 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่ในใบกำกับภาษี
  • ให้นักท่องเที่ยวกรอกข้อความในแบบ ภ.พ.10 ( ในส่วนสำหรับนักท่องเที่ยว ) พร้อมลงลายมือชื่อ ผู้ขอคืนในวันที่ซื้อสินค้าโดยทันที และให้ตรวจลายมือชื่อผู้ขอคืนให้ตรงกับลายมือชื่อนักท่องเที่ยวในหนังสือเดินทาง ( Passport )